SEO คืออะไร? ทำไมเจ้าของธุรกิจยุคใหม่ถึงต้องรู้!

SEO คือ การทำให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรกบน Search result เช่น Google เพื่อให้ไม่ว่าใครจะหาอะไร ก็เจอเว็บไซต์ของคุณที่พร้อมจะให้คำตอบในสิ่งที่คนถามบนหน้าการค้นหานั้น ยิ่งตำแหน่งที่อยู่แสดงผลสูงเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มโอกาสให้คนเข้าถึงเว็บไซต์มากเท่านั้น และอาจได้ยอดขายในท้ายสุด

ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่หรือคนที่กำลังสนใจในการทำธุรกิจออนไลน์ และมีเว็บไซต์แล้ว ถามหน่อยเถอะว่าถ้าเสียเงินจ้างคนสร้างเว็บไซต์ไปตั้งหลายแสน แต่เดือนๆ นึงมีคนเข้ามาดูน้อยนิด แล้วกำไรหรือยอดขายจะได้คุ้มทุนที่เสียไปเมื่อไหร่… พวกคุณทั้งหลายอาจจะต้องเคยได้ยินคำว่า “SEO” ผ่านๆ หูกันมาบ้างว่า SEO คืออะไร หรือถ้าไม่รู้จักเลยว่า คุณยิ่งต้องไม่พลาดบทความนี้

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาสาระอันอัดแน่นตอบคำถามเกี่ยวกับ SEO ว่าคืออะไร เราจะขอนำความหมายของคำศัพท์เฉพาะต่างๆ มาให้คุณได้ทำความรู้จักเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหาทั้งหมดต่อไป

  • Search Engine คือ เครื่องมือในการค้นหา เช่น Google, Yahoo, Bing
  • Ranking คือ การจัดอันดับหน้าเว็บไซต์เมื่อค้นหา
  • Blog คือ บทความที่ถูกเขียนเพื่อจุดประสงค์ในการให้ความรู้ แสดงความคิดเห็น ความสนุก ไม่มีการแฝงโฆษณา และสรุปประเด็นจบใน 1 บทความ
  • Onsite คือ ข้อความหรือรายละเอียดที่ปรากฎบนหน้าเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลสินค้า ข้อมูลบริการ รายละเอียดบริษัท ฯลฯ
  • SEO Outreach คือ บทความที่ถูกส่งไปเพื่อลงในเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งจะมีการใส่ลิงก์และKeywordลงไปเพื่อให้คุณคลิกแล้วกลับเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ของเจ้าของบทความ
  • Optimise คือ การจัดการดูแลจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
  • Keyword คือ คำที่ใช้ในการค้นหา
  • Search Volume คือ จำนวนการค้นหาคำ Keyword นั้นๆ ว่ามีการค้นหาทั้งหมดกี่ครั้ง
  • Anchor Link คือ ลิงก์ที่ถูกใส่เอาไว้ในคำที่เป็น Keyword ต่างๆ จุดประสงค์เพื่อขยายความหมาย ข้อมูล ของคำๆ นั้น โดยที่ไม่ต้องแทรกเข้าไปในบทความ
  • Content คือ คำโดยรวมที่ใช้สำหรับเรียกแทนเนื้อหา โดยนับรวมทั้ง ตัวหนังสือ ภาพ และองค์ประกอบอื่นๆ เช่น Blog Content, Outreach Content ฯลฯ ก็หมายถึง ประเด็นที่เขียน เนื้อหา รวมถึงภาพ วิดีโอ ทุกสิ่งที่ใส่เข้าไปในบทความนั้นๆ
  • Backlink คือ ลิงก์ที่ถูกใส่ไปกับคอนเทนต์ หรือถูกแฝงอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของเว็บภายนอก โดยมีการตั้งเป้าให้ลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา (เอาไว้ใส่ใน Outreach คอนเทนต์)
  • Organic คือ ในที่นี้คือ การกระทำทางด้านการตลาดที่ไม่ผ่านการซื้อโฆษณา
  • Organic Search คือ ผลลัพธ์การค้นหาที่แสดงขึ้นมาบนหน้า Search result โดยที่ไม่ผ่านการจ่ายเงินเพื่อแสดง

มากันที่สาระสำคัญสำหรับบทความนี้คือจะอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายที่สุด ให้คุณรู้จักว่า SEO คืออะไรอย่างลึกซึ้งเพื่อที่ว่าหากใครกำลังเริ่มธุรกิจหรือคิดจะสร้างหน้าร้านบนโลกออนไลน์จะได้นำไปปรับใช้เพื่อทำ SEO อย่างมีประสิทธิภาพ

Image

Table of Contents

SEO คืออะไร?

SEO หรือ Search Engine Optimization คือ กระบวนทางการตลาดดิจิทัลที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรกในการค้นหา (บนหน้า Google) ยิ่งเว็บไซต์อยู่สูงเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสให้คนมองเห็น ถูกคลิก และอาจจะได้ยอดขาย&กำไรในท้ายที่สุด

ซึ่ง SEO สามารถจะทำให้เว็บไซต์อย่างแบรนด์ สินค้า หรือธุรกิจบริการ สามารถขึ้นหน้าแรกของ Google เมื่อมีการค้นหาด้วยคำ Keyword ที่เกี่ยวข้องที่คนทำ SEO กำหนดเอาไว้ โดยไม่ได้เป็นการซื้อโฆษณาเพื่อที่แสดงผลบน Google (Google Ads) โดยขั้นตอนการทำนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการใช้ Content แบบ Onsite, Outreach, Blog รวมถึงการใส่ Keyword และการทำ Backlink ที่ถือเป็นหัวใจหลักในการทำให้เว็บไซต์ของคุณไต่อันดับจากหน้าท้ายๆ ขึ้นมาจนถึงหน้าแรกได้แบบ Organic

การทำ SEO นี้ไม่ได้จำเพาะในเรื่องดึงเนื้อหาออกมาจัดอันดับ แต่ยังรวมถึง การดึงรูป และวีดีโอ ออกมาให้คนพบเจอได้ด้วย ซึ่ง SEO ต้องอาศัยทั้งระยะเวลาและการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในระยะยาว

และด้วยเหตุที่ SEO นั้นไม่ต้องเสียเงินให้ Google แม้แต่บาทเดียว สิ่งที่ต้องทำจึงเป็นการพัฒนาและจัดระเบียบเว็บไซต์ไปพร้อมๆ กับการปรับปรุง Content เพื่อสร้างเครือข่ายสู่การเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ของตนจน Google เห็นว่าเว็บนั้นๆ มีศักยภาพในการดึงดูดผู้เข้าชม และตอบโจทย์ผู้ใช้ จึงจะค่อยๆ เลื่อนลำดับหน้าเว็บ ให้ขึ้นมาอยู่บนหน้าแรก ยิ่งเป็นตำแหน่งแรก (บนสุด) ด้วยแล้วถือเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุด ที่ทุกธุรกิจต่างแย่งชิง

 

Image
คำอธิบายภาพเพิ่มเติม:: SEM คือกระบวนการทำโฆษณากับ Google อาทิ (Google Ads)

 

สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ SEO

เพราะโดยส่วนใหญ่ การเข้าชมเว็บไซต์มักจะเริ่มมาจากการค้นหาผ่านแพลตฟอร์ม Search Engine ต่างๆ (ไม่ค่อยมีใครเข้าเว็บไซต์โดยตรง) แม้ว่าปัจจุบัน Social Media สามารถดึงคนเข้าสู่เว็บไซต์ได้เช่นกัน แต่ Search Engine ก็ยังเป็นช่องทางหลักสำหรับเว็บไซต์

ที่การเสิร์ชสำคัญอย่างมากก็เพราะ เครื่องมือค้นหาเหล่านี้สามารถมอบการเข้าถึงที่เฉพาะกลุ่ม เข้าใจง่ายๆ ก็คือคนที่เข้าเว็บไซต์คุณจากการค้นหานั้น เขาจะต้องมีความสนใจที่จะค้นหาข้อมูลหรือซื้อสินค้าหรือบริการอยู่ก่อนแล้ว ถึงค้นหาคำต่างๆ แล้วคลิกสู่เว็บไซต์ของคุณได้  ต่างจากการทำโฆษณาที่คนอาจจะเข้ามาเพียงเพราะพวกเขาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้

แน่นอนว่าถ้าเครื่องมือค้นหาเหล่านี้ ไม่สามารถค้นหาเว็บไซต์ หรือแม้แต่เก็บข้อมูลหน้าเว็บของคุณเข้า ฐานข้อมูลได้ รับรองว่าคุณจะต้องพลาดโอกาสดีๆ ในการที่คนทั่วโลกจะเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณและคงไม่ต้องถามถึงการทำธุรกิจเลยว่าจะเป็นอย่างไร

 

SEO CTR at position (last update June 2021)
ข้อมูลจาก: advancedwebranking

แล้วทำไมถึงต้องอยากขึ้นหน้าแรก Google หรืออันดับแรก

ไม่ใช่เพียงแค่หน้าแรกเท่านั้น แต่การได้ตำแหน่งแรกมาครอบครองคือสิ่งที่ธุรกิจต่างๆ แข่งกันอย่างดุเดือดเพื่อให้เว็บไซต์ของตัวเองได้ไปอยู่ตรงจุดนั้น จากชาร์ตด้านบน (อัปเดตล่าสุด มิถุนายน 2021) คุณจะเห็นได้ว่ายิ่งตำแหน่ง (Position ในแกน X แนวราบ) ขึ้นมาทางหน้าลำดับต้นๆ เท่าไหร่ Click through rate (CTR) หรือจำนวนคลิกที่ได้รับหารด้วยจำนวนการแสดงผล ก็จะยิ่งพุ่งสูงขึ้น ความหมายคือยิ่งหน้าเว็บของคุณอยู่หน้าหลังหน้า 1 หรือ อันดับ 10 ลงไป โอกาสที่คนจะเข้าไปพบเว็บไซต์ของคุณจากการค้นหานั้นแทบไม่เหลือ แน่นอนว่าหน้า 1 และอันดับที่ 1 ได้รับการเข้าถึงสูงที่สุดอย่างปฏิเสธไม่ได้

เริ่มทำ SEO ตอนไหนจะดีที่สุด

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการทำ SEO ก็คือ… “ตอนที่คุณยังไม่มีอะไรเลยสักอย่าง” หยุดก่อน ก่อนที่จะเกี้ยวกราดว่าเรากวน โปรดฟังเหตุผลสักนิด ที่บอกว่าไม่มีอะไรสักอย่างหมายถึง ให้คุณเริ่มกระบวนการการทำ SEO ซะตั้งแต่ยังไม่มีเว็บไซต์หรือวางแผนไว้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธุรกิจเลยจะดีมาก

เหตุผลก็เพราะคุณจะได้เตรียมตัวในการทำเว็บไซต์เพื่อให้รองรับกับการทำ SEO มากที่สุดนั่นเอง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะมาทำ SEO กันตอนที่ทำเว็บไซต์เสร็จไปทั้งหมดแล้ว ผลสุดท้ายก็คือต้องมานั่งปรับ แก้ หรือบางครั้งหนักมากก็ถึงกับขั้นต้องทำเว็บไซต์ใหม่ทั้งหมดเลยทีเดียว ดังนั้นทำซะตั้งแต่ยังไม่มีอะไรนั่นล่ะ คือคำตอบที่ถูกต้องที่สุดแล้ว

พร้อมที่จะเริ่มทำ SEO แล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง

โดยส่วนมากบริษัทต่างๆ ก็จะจ้างเอเจนซี่การตลาดดูแลเรื่อง SEO ให้เป็นปกติ แต่ประเด็นที่เราอยากให้เจ้าของกิจการทำความเข้าใจกับขั้นตอนต่างๆ นั้น เพื่อที่จะได้ช่วยให้คุณทำงานกับเหล่าเอเจนซี่ที่คุณว่าจ้างได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่วนใครที่กำลังศึกษาการทำ SEO หรือต้องการทำ SEO ด้วยตัวเองขั้นตอนเหล่านี้คือสิ่งที่คุณต้องนำไปใช้

 

Image

1. ทำแผนการตลาดสำหรับทำ SEO ทั้งหมด

การทำแผนการตลาดล่วงหน้าจะช่วยให้คุณคุมงบประมาณได้ โดยขั้นตอนนี้คุณอาจจะต้องทำไปพร้อมๆ กับทีมเอเจนซี่ที่คุณว่าจ้าง เพื่อให้พวกเขาเสนอแนวทางและการใช้งบในส่วนต่างๆ ว่าจะลงเงินในส่วนของการทำ SEO เท่าไร
ส่วนของค่าบริการเท่าไร ระยะเวลากี่เดือน แล้วต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เสริมหรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้หากคุณไม่วางแผนล่วงหน้าอาจทำให้งบบานปลายได้และควรคุยกับคนที่คุณว่าจ้างให้ชัดเจนถึงสิ่งที่คุณจะได้ เช่น จะมีรายงานผลการทำ SEO ทุกๆ เดือนหรือไม่ เปลี่ยน Keyword ได้กี่ครั้ง ใครจะเป็นคนกำหนด Keyword เป็นต้น

2.ค้นหา Keyword ที่ต้องการให้เว็บไซต์คุณติดอันดับหรือนำมาทำ SEO

หากคุณเป็นธุรกิจใหม่ยังไม่มีข้อมูลใดๆ ทั้งนั้น สามารถเริ่มทำได้ด้วยการค้นหา Keyword เป็นอันดับแรก ซึ่งหากอยากลองค้นหาด้วยตัวเองก็จะมีเครื่องมือช่วยค้นหาต่างๆ ดังนี้ (หากต้องการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพอาจจะต้องจ่ายค่าบริการในบางแพลตฟอร์ม) หลักๆ แล้ว Keyword ที่ Optimise ควรมี Search Volume หรือมีปริมาณการเสิร์จทุกๆเดือน และมีความสัมพันธ์กับธุรกิจของคุณ

เป็นเครื่องมือที่ทาง Google ออกแบบมาเพื่อให้คุณค้นหา Keyword ทั้งยังสามารถตรวจสอบได้ถึงค่าต่างๆ ว่าแต่ละคำนั้นมีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร จุดประสงค์หลักของเครื่องมือนี้คือเอาไว้ช่วยให้คนทำ Google Ads สามารถวางแผนโฆษณาของตัวเองได้ดีขึ้นแต่ก็สามารถนำมาปรับใช้สำหรับงานทางด้าน SEO เพื่อดูสถิติของแต่ละ keyword ได้เช่นกัน

วิธีการก็คือให้คุณพิมพ์ Keyword ที่พอจะนึกเองได้ (ต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือสินค้าที่ตนเองทำ) เมื่อได้ Keyword มาแล้วก็ลองดูที่ Search Volume ว่าคำไหนเป็นที่นิยมบ้างแล้วจึงลองเลือกมาสัก 3-5 คำ ก่อนก็ได้ จากนั้นค่อยเอาคำเหล่านั้นที่เลือกไปปรึกษากับคนทำ SEO เพื่อเข้าสู่กระบวนการในลำดับต่อไป

อีกหนึ่งเครื่องมือสำหรับตรวจสอบ Keyword ที่เอเจนซี่นิยมใช้กัน โดยความสามารถของเครื่องมือนี้คุณสามารถตรวจสอบได้ว่ามีเว็บไซต์ไหนบ้างที่ลิงก์มาหาเว็บเป้าหมายที่เราตั้งใจจะส่งลิงก์ไปมั้ย ทำให้เราสามารถดูสถานการณ์ของคู่แข่งแล้วนำมาปรับกลยุทธ์ของเราว่าควรทำ Backlink จากที่ไหนก่อนหรือหลัง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบ Backlink ของเราและคู่แข่งได้ ดูว่าอันไหนที่ไม่เหมือนกันบ้างทำให้เราไม่ต้องไปเสียเวลาสร้าง Backlink ซ้ำ

 

Image

3.ปรับแต่งเว็บไซต์

ถ้าเกิดว่าคุณยังไม่มีเว็บไซต์มาก่อน ก็ถือว่าได้เปรียบเพราะสามารถสร้างเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ Google กำหนดไว้สำหรับการทำ SEO ได้ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ต้องมาแก้กันให้วุ่นวาย แต่ถ้าคุณมีเว็บไซต์เก่าอยู่แล้วและไม่ได้อัปเดตเลยเป็นเวลาหลายปี ถึงเวลาที่คุณจะต้องปรับเว็บไซต์ให้สนับสนุนการทำ SEO แล้ว

สำหรับเว็บไซต์ที่จะได้คะแนนจาก Google จะต้องเป็นหน้าเว็บที่มี Content ที่แฝงไปด้วย Keyword ในตำแหน่งต่างๆ กระจายอยู่ทั่วทุกหน้าของเว็บไซต์  (ตรงนี้ล่ะที่คุณจะได้นำ Keyword ที่หาในหัวข้อก่อนหน้ามาใช้) เพราะเว็บไซต์ที่ SEO ขึ้นเร็วๆ มีลักษณะที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ มีตัวหนังสือเยอะ หรือที่เรียกว่า “Onsite” ตรงส่วนนี้อาจทำเพียงครั้งเดียวเลยก็ได้ถ้าไม่มีการเปลี่ยน Keyword และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ Link ที่ต้องใส่ทั้งภายในเว็บไซต์ตัวเอง (ลิงก์กันไปมาระหว่างหน้าต่างๆ) กับ Link ที่แปะไว้นอกเว็บไซต์แล้วชี้เป้ากลับเข้ามายังเว็บไซต์ของตน (Backlink)

*เกร็ดความรู้: เพื่อให้การทำ Onsite มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรกลับมาตรวจสอบไม่ว่าจะเป็น Keyword และ Link ต่างๆ ทุกๆ 6 เดือน – 1 ปี เพราะอาจมีบาง Keyword หรือ Link ที่เสีย

ดังนั้นในทุกๆ หน้าบนเว็บไซต์ของคุณควรมีข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือและสอดแทรก Keyword ที่คุณกำหนดเข้าไปด้วย เพราะ Google จะอ่านเว็บของคุณได้จากตัวหนังสือเหล่านี้ แต่อย่าใส่ Keyword เยอะจนเกินพอดีล่ะ เพราะถ้าเยอะเกินไป Google อาจจะมองว่าเว็บคุณเป็นสแปม

ส่วนวิธีการอัปเดตที่นิยมทำกันเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณเคลื่อนไหวอยู่เสมอ นั่นก็คือการทำ Blog หรือคอนเทนต์ที่เป็นบทความแบบยาว วิธีการก็คือเขียนเนื้อหาในหัวข้อที่น่าสนใจและแฝง Keyword ลงไป บทความพวกนี้จะเป็นตัวช่วยอย่างมากในการทำ SEO

4. ส่งคอนเทนต์ไปสู่เว็บไซต์ข้างนอก

วิธีการนี้เราจะเรียกว่า Outreach โดยส่วนประกอบของคอนเทนต์ประเภทนี้นอกจากจะแฝงคำ Keyword ไปในคอนเทนต์แล้วยังจะมีการแทรกลิงก์เพื่อทำเป็น Backlink ให้คนอ่านคอนเทนต์คลิกเข้ามาบนหน้าเว็บไซต์ของเรา

*เกร็ดความรู้: หลายคนอาจสงสัยว่าเราจำเป็นต้องทำทั้ง Blog กับ Outreach Content เลยหรือไม่ คำตอบคือ “ควรทำ” ความแตกต่างของสองประเภทนี้คือ Blog จะทำหน้าที่บนเว็บไซต์ของคุณ อาจมีการลิงก์ยังหน้าอื่นๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพในหน้าเว็บ ส่วน Outreach จะทำหน้าที่เป็นคอนเทนต์ที่ถูกนำส่งไปยังเว็บไซต์ต่างๆ โดยจะมีการแทรก Backlink เข้าไปทุกๆ Content ที่ถูกเขียนขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านได้ลิงก์กลับเข้ามาในหน้าเว็บไซต์ของเรา เพราะ Google มองว่า เว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการเข้าถึงได้หลากหลายช่องทาง ยิ่งมีการลิงก์ถึงมากก็ทำให้คะแนนของหน้าเว็บนั้นๆ ของเราสูงขึ้น

 

Image

5. ตรวจสอบพร้อมปรับปรุงแก้ไข

การทำ SEO นั้นไม่ใช่ทำเสร็จแล้วปล่อยไปเลย เพราะอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งที่คุณจะต้องเข้ามาดูการจัดลำดับของ Keyword ที่คุณได้ทำการกำหนดเข้าไป รวมถึง Rank ของหน้าเว็บไซต์ว่าตอนนี้ Keyword คำไหนบ้างที่ติดหน้าแรก แล้วค่อยมาโฟกัสที่คำอื่นๆ ที่ยังไต่ลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ โดยการทำ Outreach Content ส่งออกไปตามเว็บไซต์ต่างๆ

ทว่าหาก Keyword ของคุณกว้างเกินไป การทำ SEO อาจจะเห็นผลช้าหรือไม่เห็นผลเลยก็ได้ ดังนั้นในบางกรณีคุณอาจจะต้องมีการปรับ เปลี่ยน Keyword บางคำใหม่ (แต่เปลี่ยนบ่อยๆ ก็ไม่ส่งผลดี เพราะการเปลี่ยนใหม่ก็เท่ากับคุณเริ่มใหม่)

ตัวอย่าง: คุณขายรถยนต์ฮอนด้ามือสอง

Keyword คำว่า “ขาย รถยนต์” อาจกว้างเกินไปสำหรับธุรกิจของคุณ อาจต้องลองเปลี่ยนมาเป็นคำอื่นๆ เช่น “ขาย รถ ฮอนด้า” “ขาย รถ มือ สอง” “ฮอนด้า มือ สอง” ฯลฯ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้คุณจะต้องทำกระบวนการที่เรียกว่า Keyword Research เสียก่อน โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ดังข้อ 2 ที่เรากล่าวไว้ข้างต้น

6. ให้ Social Media เป็นตัวช่วย SEO ของคุณ

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว Social Media ก็มีส่วนช่วยให้การทำ SEO ของคุณได้ด้วยเช่นกัน โดย Social Media จะช่วย SEO ในแง่ของการที่คอนเทนต์ถูกแชร์ออกไป อาจจะเป็น Outreach หรือ Blog ก็ได้ เพราะในคอนเทนต์เหล่านั้นเราใส่ Keyword พร้อมกับทำ Backlink ไว้อยู่แล้ว เมื่อมีการแชร์เยอะ คนอ่านมาก คะแนนของ Keyword นั้นๆ ก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ

 

Content แบบไหนดีที่สุดสำหรับ SEO

สำหรับเรื่องนี้ความจริงแล้วแค่เว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาที่ชวนอ่าน ชวนแชร์ ไม่ใส่ Keyword จนกลายเป็นสแปมก็ถือว่าตอบโจทย์แล้ว แต่หากจะให้บอกว่า Content ประเภทไหนดีที่สุดคำตอบคือบทความประเภท Evergreen Content เพราะเนื้อหาที่ถูกคนคลิกเข้ามาอ่านอยู่เสมอๆ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปแค่ไหน จะเป็นส่วนช่วยชั้นดีให้ SEO ของคุณทรงประสิทธิภาพสูงที่สุด หรือถ้าเป็นคอนเทนต์ที่ให้ข้อมูลเชิงความรู้ ที่ตอบรับกับสิ่งที่ผู้อ่านกำลังตั้งคำถามหรือมองหาได้คอนเทนต์ประเภทนี้ก็จะช่วยให้ Rank ของคุณดีขึ้นเช่นกัน

 

Image

ทำไมคุณถึงต้องลงทุนกับการทำ SEO

ลองคิดตามง่ายๆ ว่าถ้าคุณเปิดธุรกิจทำหน้าร้านสวยหรูดูดี แต่ไม่มีลูกค้าแวะเข้ามาเลยแม้แต่คนเดียว ธุรกิจของคุณจะไปรอดได้อย่างไร? เช่นเดียวกันกับการทำหน้าเว็บไซต์ที่ต่อให้คุณทำเว็บได้สวย ใช้ง่ายเพียงใด ข้อมูลสินค้า บริการ ครบครัน ระบบชั้นดีแค่ไหนถ้าไม่มีคนเข้ามาก็ไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นกับธุรกิจ

การทำ SEO จะเป็นเสมือนการประชาสัมพันธ์ให้กับหน้าเว็บไซต์ให้คนทั่วๆ ไปได้รู้จักว่ามีธุรกิจของคุณเกิดขึ้นบนโลก และแน่นอนว่ามันยังเพิ่มโอกาสในการขายได้ โดยข้อมูลจาก mr-seo.com ระบุว่า กว่า 93% ของการตัดสินใจซื้อทั้งหมดเกิดขึ้นจากการค้นหาบนโลกออนไลน์ดังนั้นการเตรียมหน้าร้านออนไลน์หรือเว็บไซต์ของคุณให้พร้อมจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

อย่างไรก็ตามเห็นได้ชัดว่าจริงๆ แล้วขั้นตอนการทำ SEO ดูจะไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะทุกอย่างถูกวางไว้เป็นแพทเทิร์น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ Google ได้วางเอาไว้ แต่อย่าลืมว่า “แค่ทำ” นั้นยังไม่พอ เพราะคุณต้องคอยตรวจสอบ ปรับปรุง ควบคุมคุณภาพของการทำ SEO อย่างสม่ำเสมอ หากคุณปล่อยปละละเลยไปเพียงช่วงสั้นๆ เว็บไซต์คู่แข่งก็อาจจะนำหน้าแซงลำดับคุณไปเป็นที่เรียบร้อย ให้นึกไว้เสอว่า “ไม่ใช่ธุรกิจของเราคนเดียวที่ทำ SEO” ถึงตรงนี้แล้วเราคงไม่ต้องสาธยายต่อแล้วล่ะว่า SEO นั้นสำคัญกับการทำธุรกิจในโลกปัจจุบันมากแค่ไหน

สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด ในการทำ SEO ไม่เช่นนั้นจะถูกมองว่าเป็น SPAM

 

อะไรบ้างที่หากคิดจะทำ SEO แล้ว ห้าม! โดยเด็ดขาด

  1. ใช้คอนเทนต์เดียวกันซ้ำๆ

จริงอยู่ที่หน้าเว็บไซต์ที่ดีควรจะมีคอนเทนต์ที่เป็นตัวหนังสือในแต่ละหน้า (โดยต้องมีการแทรกคีย์เวิร์ดต่างๆ ลงไป) ในปริมาณที่ไม่น้อยจนเกินไป แต่หลายครั้งที่คนทำเว็บไซต์หรือเจ้าของเองอาจจะด้วยความไม่รู้ ใช้วิธีคัดลอกเอาคอนเทนต์ในหน้านึง ไปใส่อีกหน้าแล้วก็ใช้คอนเทนต์นั้นซ้ำๆ ในหลายครั้งบนหน้าเว็บไซต์

ทีนี้แทนที่จะส่งผลดีเพราะคิดว่า “โอเค! เว็บไซต์ของเรามีคอนเทนต์ที่เพียงพอแล้ว Google น่าจะชอบ” แต่เปล่าเลยการทำ SEO ด้วยวิธีนี้จะยิ่งส่งผลเสียต่อละดับการ Rank ของคุณเสียด้วยซ้ำ เพราะจะส่งผลโดยตรงในเรื่องของคุณภาพเนื้อหาของเว็บไซต์ (คอนเทนต์ที่ดีควรมีอันเดียว ไม่ควรถูกใช้งานซ้ำๆ)

ดังนั้นต่อให้แต่ละหน้าเว็บเพจของคุณมีสินค้าหรือบริการเดียวกัน เราก็แนะนำให้คุณเขียนคอนเทนต์แยกกันสำหรับแต่ละหน้า อาจจะปรับเรื่องคำพูด เนื้อหาที่นำเสนอเพื่อที่เวลาคนเข้ามาในเว็บไซต์จะได้รู้สึกว่า หน้าเว็บมีประโยชน์

คำเตือน! ห้ามก็อปปี้คอนเทนต์ของคนอื่นมาเด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่ส่งผลดีในการทำ SEO แล้ว คุณยังอาจโดนดำเนินคดีตามกฎหมายเรื่องลิขสิทธิ์ได้ แต่หากเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและต้องการใช้งานจริงๆ ให้นำมาเขียนใหม่ Re-Write เป็นภาษาของเราเองแล้วค่อยทำการอ้างอิงแหล่งข้อมูล แบบนี้จะดีกว่า

  1. เขียนๆ ไปอย่างนั้น ไม่สนใจว่าเนื้อหาจะเป็นอย่างไร

บางคนคิดว่า SEO คือการมีคอนเทนต์เยอะๆ ยิ่งเยอะยิ่งดีบนเว็บไซต์ก็เลยอัดซะเต็มที่ ใส่คอนเทนต์แถมยัดคีย์เวิร์ดเข้าไปโดยไม่คำนึงว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์หรือไม่ (ใส่คีย์เวิร์ดเยอะเกินไปก็ใช่ว่าจะดี) คิดแต่ว่า Google จะชอบ

แต่เปล่าเลยเพราะสิ่งที่จะเกิดตามมาเมื่อหน้าเว็บไซต์ของคุณมีแต่เนื้อหาที่อ่านไม่รู้เรื่อง ไม่น่าอ่าน คนที่เข้ามาในเว็บไซต์ก็จะออกไปในระยะเวลาอันสั้น ทำให้เกิดเป็น Bounce Rate หรืออัตตราการตีกลับที่สูงขึ้น แน่นอนว่านั่นจะทำให้การไต่ลำดับ Ranking บน Google ของคุณแย่ลง

  1. ทำ Backlink เยอะ โดยไม่สนคุณภาพ

ทำ Backlink เยอะไม่ใช่เรื่องผิด แต่ผิดที่คุณภาพของ Link ที่คุณได้กลับมามากกว่า จริงอยู่ในช่วงแรกที่คุณทำลำดับ Rank เว็บไซต์ของคุณอาจดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การทำ SEO ไม่ใช่แค่ทำวัน สองวันแล้วจบแต่จะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimize) อยู่ตลอดเวลา

เท่ากับว่าในระยะยาวการที่คุณทำ Backlink ด้วยคุณภาพที่ต่ำเป็นจำนวนมากย่อมไม่ส่งผลดี ซ้ำร้ายอาจถูก Google มองว่าเป็น Spam และอาจถูกลงโทษจากทาง Google ได้ ดังนั้นท่องไว้เสมอว่า การทำ Backlink คุณภาพย่อมสำคัญกว่าปริมาณเสมอ

  1. ใส่ Internal Link ไปหน้าเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้อง

การทำ SEO ที่ดีคือการมี Link เข้า-ออก ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการทำ Internal Link สำหรับนำให้คนคลิกเพื่อเข้าไปอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมจากบทความต้นฉบับ แหล่งที่มาของข้อมูล ฯลฯ แต่สิ่งที่คุณพึงระวังคืออย่าใส่ Link ซึ่งมีเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าเว็บไซต์ของคุณเป็นอันขาดเพราะจะส่งผลต่อคุณภาพเว็บไซต์รวมถึงลำดับการ Rank บน Google ของคุณเช่นกัน

  1. ตำแหน่งโฆษณา กับ Pop Up เยอะจนเกินเหตุ

ลองคิดดูว่า หากคุณกำลังอ่านเนื้อหาคอนเทนต์ที่คุณกำลังให้ความสนใจอยู่แล้วจู่ๆ ก็มี Pop Up บ้าง โฆษณาบ้าง เด้งขึ้นมาขั้นขัดจังหวะการอ่านของคุณ แน่นอนว่าคงรู้สึกรำคาญและอาจจะกดออกจากเว็บไซต์นั้นไปเลยก็ได้

เช่นเดียวกันคุณคงไม่อยากให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณรู้สึกแบบนั้น ดังนั้นหากต้องการหารายได้จากการมีตำแหน่งโฆษณา (GDN) หรือโฆษณารูปแบบอื่นๆ บนหน้าเว็บไซต์ ควรจะให้ผู้ออกแบบเว็บไซต์วางตำแหน่งที่เหมาะสม โดยไม่ควรให้โฆษณาเหล่านั้นขึ้นมาขัดจังหวะการอ่านคอนเทนต์มากจนเกินไปอาจจะวางเป็น Side Bar ด้านข้าง หรือถ้าขั้นระหว่างคอนเทนต์จริงๆ ก็ควรมีระยะที่ปล่อยให้ผู้อ่านได้อ่านสักระยะแล้วค่อยขึ้นโฆษณาคั่น

ส่วน Pop Up ก็ไม่ควรให้เด้งขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา อาจจะเด้งเฉพาะตอนที่เข้ามาหน้านั้นๆ ก็เพียงพอแล้วเพราะการทำ SEO ที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการรักษาให้คนที่ผ่านเข้ามาบนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ใช้เวลาอยู่บนนั้นให้นานที่สุด

ทั้งหมดของบทความนี้ เราตอบทุกคำถามอย่างละเอียดว่า SEO คืออะไร ทำไมต้องทำ SEO ให้อยู่อันดับสูงๆ และประโยชน์ของการทำการตลาดดิจิทัลแบบนี้คืออะไร ดังนั้นหากคุณรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า SEO คืออะไร และลองปรับใช้ดู ถึงตอนนั้นคุณจะไม่กล้ามองข้าม SEO อีกต่อไป