เซฟเก็บไว้เลย! ยิงโฆษณาไม่ใช่เรื่องยาก หากเข้าใจคำศัพท์เทคนิค Facebook เหล่านี้
ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าธุรกิจต่างๆ บนโลกกำลังขับเคลื่อนด้วยออนไลน์เกือบ 100% ละการทำโฆษณาทางช่องทางออนไลน์ก็เป็นวิธีที่คนนิยมใช้กันอย่างมากเนื่องจากสะดวกและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าโฆษณา Facebook คงเป็นทางเลือกแรกๆ ที่หลายคนซึ่งหันมาใช้พื้นที่ออนไลน์ในการทำธุรกิจใช้กัน บทความนี้เราจึงนำเอาคำศัพท์เทคนิค Facebook รวมถึงคำศัพท์ Facebook Ads มาแชร์ให้ทุกท่านได้เก็บไว้เป็นคลังข้อมูล เวลาที่เจอคำศัพท์เหล่านี้ตอนทำโฆษณา Facebook จะได้ไปต่อได้อย่างสบาย
Table of Contents
Brand Awareness – การรับรู้แบรนด์
แปลตรงตัวตามความหมายก็คือการทำให้แบรนด์หรือธุรกิจเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ซึ่งหากวิเคราะห์ในแง่ของ Facebook Ads คำนี้ก็คือการทำโฆษณาเพื่อส่งคอนเทนต์หรือเนื้อหาที่คุณต้องการจะนำเสนอแก่ผู้ใดก็ได้ที่ยังไม่เคยรู้จักแบรนด์ของคุณมาก่อน เป็นเสมือนการแนะนำตัวให้กับผู้คนได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์หรือธุรกิจของคุณ
Reach – การมองเห็น
จำนวนครั้งของผู้ที่ได้เห็นคอนเทนต์หรือเนื้อหาต่างๆ ผ่านโฆษณา Facebook โดยการนับจำนวน Reach จะนับจากบัญชีผู้ใช้ที่ไม่ซ้ำกัน ยกตัวอย่างเช่น คน 1 คน มองเห็นโฆษณาเดิม 10 ครั้ง ก็นับเป็น 1 Reach เท่านั้น แต่ถ้าคน 10 คน มองเห็นโฆษณานั้นคนละครั้ง ก็จะนับจำนวนเป็น 10 Reach เป็นต้น
Impression – การแสดงผลโฆษณา
จำนวนครั้งในการปรากฎของโฆษณา โดยการนับจำนวน Impression จะนับเป็นทุกๆ ครั้งที่โฆษณานั้นปรากฎกับผู้ใดก็ตามแม้ว่าจะเป็นบัญชีผู้ใช้เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น คน 1 คน มองเห็นโฆษณาเดิม 10 ครั้ง ก็นับเป็น 10 Impression หรือถ้าเป็นคน 10 คน เห็นโฆษณาคนละครั้ง ก็นับเป็น 10 Impression เช่นกัน เพราะนับจากจำนวนที่โฆษณาแสดง
Engagement – การมีส่วนร่วม
การที่ผู้คนเข้ามาทำการ Like, Comment, Share บนเพจหรือโฆษณาของคุณ โดยการจะได้มา ซึ่ง Engagement นั้นจะต้องสร้างแรงจูงใจและความน่าสนใจเพื่อโน้มน้าวให้ผู้ใช้รู้สึกอยากที่จะทำ เช่นมีคอนเทนต์ที่ดีมีประโยชน์จนผู้อ่านอยากแชร์ไว้ให้เพื่อนๆ ของเขาได้รับรู้ หรือโฆษณาของคุณถูกใจจนเขาต้อง Like เป็นต้น
Traffic – ทราฟฟิก
จำนวนผู้เยี่ยมชมซึ่งในกรณีของ Facebook Tracking แล้วก็คือการนับจำนวนผู้ใช้ที่ทำการคลิกลิงก์เว็บไซต์ต่างๆ ผ่านโฆษณาที่คุณเผยแพร่ออกไป
Video Views – การรับชมวิดีโอ
จำนวนผู้รับชมวิดีโอโดยจะนับ 1 View ได้ก็ต่อเมื่อวิดีโอเริ่มเล่นไปจนครับ 3 วินาที เท่ากับว่าหากผู้ใช้แค่เลื่อนผ่านหน้า Video ของคุณระบบก็จะไม่ได้นับเป็นจำนวน View แต่ถ้าเป็น Video View ใน Story จะนับเป็น 1 View ทันทีตั้งแต่ผู้ชมเลื่อนผ่าน
Lead Generation – เพิ่มโอกาส
รูปแบบโฆษณาที่มีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนบุคคลทั่วไปให้กลายมาเป็นผู้ที่มีโอกาสจะพัฒนาเข้ามาเป็นลูกค้าของธุรกิจหรือแบรนด์ในอนาคต โดยทั่วไปแล้วโฆษณาที่เป็น Lead Generation มักจะมีลักษณะการนำเสนอ โปรโมชั่น ข้อเสนอพิเศษ (Offer) ส่วนลด ของแถม ฯลฯ เพื่อดึงดูดให้กลุ่มผู้ชมโฆษณาเป้าหมายที่อาจจะกำลังสนใจผลิตภัณฑ์นั้นๆ เข้ามาเป็นลูกค้าในอนาคต
Paid Reach – การมองเห็นผ่านการซื้อโฆษณา
จำนวนการมองเห็นคอนเทนต์หรือเนื้อหาใดๆ ก็ตามที่มีการซื้อโฆษณา
Organic Reach – การมองเห็นโดยไม่ผ่านการซื้อโฆษณา
จำนวนการมองเห็นคอนเทนต์หรือเนื้อหาใดๆ ก็ตามที่ไม่ผ่านการซื้อโฆษณา
Link Clicks – จำนวนคลิกลิงก์
จำนวนคลิกลิงก์ผ่านโฆษณาโดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมตาอไปยังเว็บไซต์ แอปพลิเคฟชันหรือแพลตฟอร์มต่างๆ หรือแม้แต่บนแพลตฟอร์ม Facebook เองก็สามารถเรียก Link Clicks ได้ อาทิ การทำโฆษณาแบบ Collection เมื่อผู้ใช้คลิกเข้าไประบบก็จะพาเข้าสู่หน้า Canvas (Instant Experience) นั่นก็จะนับเป็นจำนวนคลิกได้เช่นกัน
Collaborative Ads
โฆษณาที่แสดงผลข้อมูลจากการคัดกรองของระบบเพื่อนำส่งโฆษณาตามที่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายต้องการรับชมอย่างแท้จริง โดยการทำโฆษณาประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ก็สามารถทำได้ ระบบจะจดจำจากผู้ที่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ (ในกรณีที่ไม่มีเว็บไซต์ ก็จะเป็นหน้าร้านของคุณบนแพลตฟอร์ม E-Commerce) เมื่อผู้ใช้มีการคลิกที่ตัวสินค้าต่างๆ ระบบก็จะจดจำเอาไว้ว่าคนคนนั้นมีแนวโน้มที่จะสนใจสินค้าประเภทไหน
โดยจะเป็นการที่ Brand ดึง Catalogue Feed จากแพลตฟอร์ม E-Commerce มาใช้เป็น Dynamic Ads สำหรับการทำโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เรากำหนดไว้อัตโนมัต หรือที่รู้จักกันในชื่อ CPAS นั่นเท่ากับว่าลูกค้าแต่ละคนจะเห็นสินค้าบนโฆษณาของคุณไม่เหมือนกันเลย ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละบุคคลจริงๆ
Dynamic Ads
รูปแบบโฆษณาที่เป็นการดึงแคตตาล็อกสินค้ามาแสดงแบบอัตโนมัติ โดยมีจุดเด่นคือการแสดงสินค้าต่างๆ ที่ผู้คนสนใจจริงๆ แม้ว่าพวกเขาจะเคย หรือไม่เคยเข้าไปที่เว็บไซต์ของคุณเลยก็ตาม อีกทั้งยังสามารถ Retarget หรือโฆษณาตอกย้ำ เพื่อเตือนให้พวกเขาได้เห็นสินค้าที่สนใจ เคยกดเข้าไปดูแต่ยังไม่ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์หรือแอปฯ บนโทรศัพท์มือถือ เป็นรูปแบบโฆษณาที่สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันกับ Collaborative Ads และ Collection Ads ได้
Collection Ads
อีกหนึ่งรูปแบบโฆษณาที่มีจุดเด่นคือเราสามารถจัดการ Microsite ด้านในเองได้ อาจจะเป็นภาพ วิดีโอรวมถึงการดึงรายการสินค้าต่างๆ เข้ามาแสดงบนโฆษณาเพื่อดึงดูดให้คนที่สนใจสามารถเข้าไปกดสั่งซื้อต่อได้ในเว็บไซต์ของคุณ เป็นการพยายามสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้ (User Experience) เพื่อให้ได้รับโฆษณาที่น่าสนใจมากขึ้น
Carousal
รูปแบบการแสดงผลโฆษณาที่จะแสดงในลักษณะรูปภาพสี่เหลี่ยมจตุรัสวางต่อกัน ผู้ชมสามารถรับชมได้ผ่านการคลิกปุ่มเพื่อเลื่อนดูภาพต่อๆ ไปที่ยังไม่แสดงผลได้
CPC – Cost Per Click
วิธีการคิดต้นทุนโฆษณาโดยนับตามจำนวนครั้งที่มีคนคลิกโฆษณา ตัวอย่างเช่น สมมติว่าราคาต่อหนึ่งคลิกของคุณคือ 3 บาท หากตลอดทั้งแคมเปญที่โฆษณากำลังเผยแพร่อยู่นั้นมีคนคลิก 1,000 ครั้ง เงินที่คุณต้องจ่ายกับทาง Faecbook ก็คือ 3,000 บาท ซึ่งใน 1,000 ครั้งนั้น จะเป็นคนคนเดิมคลิกซ้ำกี่ครั้งก็ได้ เท่ากับว่าการคลิก 1,000 ครั้ง ไม่ได้หมายความว่าคน 1,000 คนเป็นคนคลิก อาจจะมีคนคลิกแค่ 500 คนแต่พวกเขาคลิกโฆษณาของคุณคนละ 2 ครั้ง เป็นต้น
CPM – Cost Per 1,000 Impressions
วิธีการคิดต้นทุนโฆษณาต่อการแสดงผล 1,000 ครั้ง ตัวอย่างเช่น หาก CPM ของคุณคือ 100 บาท ถ้าโฆษณาของคุณแสดงเพียง 500 ครั้ง คุณก็จะต้องชำระเงินเพียง 50 บาท แต่ถ้าโฆษณาของคุณแสดงทั้งหมด 10,000 ครั้ง คุณก็ต้องจ่ายเงินให้กับทาง Facebook ทั้งสิ้น 1,000 บาท
Placement – ตำแหน่งโฆษณา
ตำแหน่งการแสดงผลโฆษณา ตรงส่วนนี้สามารถเลือกได้ตอนที่คุณกำลังสร้างแคมเปญโฆษณา โดยจะถูกระบุอยู่ในส่วนของ Ad Set โดยสามารถเลือกได้ว่าจะให้ระบบส่งโฆษณาไปยังตำแหน่งโฆษณาต่างๆ แบบอัตโนมัติ (Autometic Placements) หรือแบบกำหนดเอง (Manual Placements) ซึ่งตำแหน่งโฆษณาในปัจจุบันเราสามารถเลือกให้โฆษณาไปแสดงได้ทั้งบน Facebook, Messenger, Instagram และ Audience Network หรือเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ที่เป็นพันธมิตรกับ Facebook
Audience Insight – ข้อมูลเชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย
เครื่องมือที่มีไว้สำหรับตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมายซึ่งจะอยู่ในตัวจัดการโฆษณาหรือ Ad Manager สามารถใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโฆษณา Facebook Ads อย่างละเอียด ตั้งแค่เรื่องความสนใจ พฤติกรรมผู้ใช้ไปจนถึงข้อมูลประชากร
Target Audience – กลุ่มผู้ชมเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่เราสามารถกำหนดเองได้ สำหรับนำส่งโฆษณาที่เราทำขึ้น โดยกำหนดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ ประเทศ จังหวัด เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ ความสนใจ ฯลฯ
CBO – Campaign Budget Optimization
การกำหนดงบประมาณโฆษณาในระดับแคมเปญ ตรงส่วนนี้จะแตกต่างจากการกำหนดงบโฆษณาแบบเดิม (ในระดับ Ad Set) เพราะงบที่กำหนดแบบเดิมจะเป็นการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายจนหมดภายในชุดโฆษณานั้นๆ เท่านั้นไม่ว่าชุดโฆษณานั้นจะดีหรือไม่ดี แต่ถ้าเป็นการใส่งบประมาณในระดับแคมเปญหรือ CBO ระบบจะดูว่าชุดโฆษณาตัวไหนมีแนวโน้มที่ดี ก็จะดึงงบฯ ส่วนใหญ่ไปให้กับชุดโฆษณานั้นๆ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาได้อย่างดีที่สุด
Frequency – ความถี่
ความถี่ในการแสดงผลโฆษณาโดยตัวเลขนี้จะได้มาจากการนำ จำนวนการแสดงผล(Impression) หารด้วย จำนวนการมองเห็น (Reach) ยกตัวอย่างเช่น โฆษณาที่คุณทำออกไปมีการแสดงผลทั้งหมด 500,000 ครั้ง มีจำนวนการมองเห็นทั้งหมด 280,000 ครั้ง เมื่อนำ 500,000 / 280,000 โฆษณาของคุณก็มีความถี่เป็น 1.8 ครั้ง หรือแปลง่ายๆ ก็คือคนหนึ่งคนเห็นโฆษณาของคุณ 1.8 ครั้ง
Ad Campaign – แคมเปญโฆษณา
แคมเปญในการสร้างโฆษณาซึ่งจะเป็นส่วนที่คุณสามารถเลือกวัตถุประสงค์ในการทำโฆษณา Facebook ได้รวมถึงกำหนดงบโฆษณาในส่วนนี้เลยก็ได้เช่นเดียวกัน โดยภายในแคมเปญโฆษณาจะประกอบย่อย 2 ส่วนหลักๆ คือ ชุดโฆษณาและโฆษณา
Ad Set – ชุดโฆษณา
ส่วนของการสร้างโฆษณารองจากแคมเปญ ซึ่งจะเป็นส่วนที่คุณต้องกำหนด ระยะเวลาในการทำโฆษณา กลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ ตำแหน่งที่ตั้ง อายุ เพศ ความสนใจ ตำแหน่งการแสดงผลโฆษณาโดยภายในชุดโฆษณาจะมีองค์ประกอบย่อยลงไปอีกหนึ่งส่วนคือ “โฆษณา”
Ad – โฆษณา
โฆษณาที่จะนำไปแสดงผลต่อสาธารณะ ตรงส่วนนี้สามารถเป็นได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพ วิดีโอหรือลิงก์ที่คุณสร้างขึ้นซึ่งถ้าหากเข้าไปสร้างโฆษณาผ่าน Ad Manager คุณสามารถเลือกได้ 2 ทางคือใช้โพสต์เดิมที่มีอยู่แล้ว (ที่เคยโพสต์ลงหน้าเพจ) หรือจะสร้างเป็นโพสต์ใหม่สำหรับโฆษณาโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อกดสร้างแล้วจะไม่ได้แสดงอยู่บ้านหน้าเพจ ซึ่งส่วนของโฆษณาจะมีรูปแบบการแสดงผลให้เลือกอยู่ 2 หมวดหลักๆ คือ 1. Single Image or Video และ 2. Carousel
Pixel – พิกเซล
ชุดโค้ดที่มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลการกระทำต่างๆ บนเว็บไซต์ อาทิ การกด Add To Cart การสั่งซื้อ กรอกข้อมูล ฯลฯ ตามที่เรากำหนด Event (กิจกรรม) Conversion ต่างๆ เอาไว้เพื่อนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์หรือนำมาต่อยอดเพื่อสร้างโฆษณาด้วยวัตถุประสงค์ Conversion หรือนำมาใช้สร้างกลุ่มเป้าหมายแบบกำหนดเองเพื่อนำมาทำโฆษณา Re-Marketing ต่อไปได้
Event – กิจกรรม
เป็นการกำหนดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นบนเว็บไซต์เพื่อทำการเก็บข้อมูล Conversion ต่างๆ ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบในการทำ Pixel ซึ่งใช้งานโดยการนำโค้ด Event ที่เราต้องการเก็บข้อมูลไปแทรกไว้ในโค้ด Pixel อีกที โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. Standard Event
สามารถเก็บข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่นิยมใช้กัน โดยจะเป็นทาง Facebook ที่กำหนดมาให้เลือกมีทั้งหมด 9 กิจกรรม ได้แก่ View content, Search, Add to cart, Add to wishlist, Initiate Checkout, Add payment info, Make purchase, Lead, Complete Registration การใช้ Standard Event เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ข้อมูลที่ได้เหมาะสำหรับการทำไปสร้าง Custom Audience หรือกลุ่มเป้าหมายแบบกำหนดเองเพื่อทำการซื้อโฆษณาต่อไปในอนาคต
2. Custom Conversions
เป็นการกำหนดวิธีการวัดผลที่ละเอียดและซับซ้อนกว่า Standard Event เพื่อทำการแยกแยะข้อมูลเป็นหมวดหมู่ชัดเจน หรือเข้าใจง่ายๆ เป็นการกำหนดความละเอียดการติดตามข้อมูล “เพิ่มเติม” จาก Standard Event ให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เหมาะกับการนำไปทำโฆษราแบบ Objective Conversion เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำมากขึ้น
Business Manager
ตัวจัดการธุรกิจซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่รวบรวมเครื่องมือทุกอย่างไว้ในที่เดียว เปรียบเสมือนระบบที่คอยจัดการสิ่งต่างๆ ภายในองค์กรทั้งการจัดการคน สิทธิ์ในการเข้าถึงส่วนต่างๆ การจัดการเพจ บัญชีโฆษณา วิธีการจ่ายเงิน โดยความพิเศษคือสามารถทำสิ่งต่างๆ พร้อมกันได้หลายๆ บัญชี ไม่ว่าจะเป็นเพจหรือแม้แต่บัญชีโฆษณาก็ตาม
ที่สำคัญคือสามารถเพิ่มพาร์ทเนอร์ที่ต้องทำงานร่วมกันได้ จึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะกับธุรกิจที่ต้องมีทีมงานคอยจัดการเพจหรือโฆษณาหลายคน เอเจนซี่ที่ต้องทำงานกับลูกค้าหลายเจ้า หรือแม้แต่ธุรกิจส่วนตัวก็สามารถใช้ได้เพราะจะทำให้การทำงานเชิงลึกสะดวกกว่ามาก แต่จุดด้อยคืออาจจะไม่เหมาะกับมือใหม่ เพราะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการใช้งานเนื่องจากมีเครื่องมือที่ละเอียด หลากหลาย
Attribution Setting
การระบุที่มา โดยมีวัตถุประสงค์ในการระบุว่า Conversion ใดที่เราได้รับจากโฆษณาที่ทำและ Conversion ใดที่ถูกใช้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับแคมเปญโฆษณา โดยระบบจะเลือกเรียนรู้จาก Conversion ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คุณกำหนดและปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยการนำเสนอโฆษณาที่ตรงตามความต้องการของผู้ชมมากที่สุด
คุณสามารถเลือกระยะเวลาระบุที่มาได้ดังต่อไปนี้
การคลิกในช่วง 1 วัน
การคลิกในช่วง 7 วัน (ค่าเริ่มต้น)
การคลิกในช่วง 1 วันหรือการดูในช่วง 1 วัน
การคลิกในช่วง 7 วันหรือการดูในช่วง 1 วัน
Landing Page
หน้าเว็บเพจเป้าหมายที่เรากำหนดไว้จุดประสงค์เพื่อนำส่งคนจากโฆษณาเข้าสู่หน้านั้นตามแต่วัตถุประสงค์ที่กำหนด ความจริงแล้ว Landing Page ก็คือลิงก์เว็บไซต์อะไรก็ได้ที่คุณต้องการให้คนที่เห็นโฆษณาคลิกเข้าไป แต่โดยส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นหน้าข้อมูลสินค้า บริการหรือธุรกิจนั้น หน้าแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูล ฯลฯ โดยปกติแล้วโฆษณาที่มีการกำหนด Landing Page มักจะมีการติดตามข้อมูล (Tracking) เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปต่อยอดทำโฆษณาหรือการตลาดในอนาคต
Result Rate – คะแนนผลลัพธ์
ส่วนของการแสดงคะแนนผลลัพธ์ใน Ad Manager ที่จะบ่องบอกได้ว่าโฆษณานั้นของคุณคนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งหมดเป็นเท่าไร ซึ่งตรงส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับแคมเปญของโฆษณาที่คุณเลือกด้วยเช่น Website Leads, Landing Page Views, Estimated Ad Recall Lift (People) เป็นต้น
หากคุณคือหนึ่งคนที่อาจจะเคยสงสัยว่า Metrics Facebook Ads มีอะไรบ้างหรือกำลังมองหาคำศัพท์เทคนิค Facebook ต่างๆ หวังว่า 30 คำศัพท์ที่เราให้ไปน่าจะพอให้คุณสามารถทำโฆษณา Facebook ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือถ้าคุณเป็นองค์กร ธุรกิจที่ต้องใช้บริการ Digital Marketing Agency ก็จะได้มีความรู้ในการพูดคุยประสานงานเพื่อให้โฆษณาของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุดได้
Join the discussion - 0 Comment