Link Building กระบวนการสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ SEO ของคุณทรงประสิทธิภาพ
เป็นเรื่องปกติอย่างมากสำหรับการทำการตลาดไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ แน่นอนว่ากระบวนการในการทำ SEO ก็เช่นกันที่เรามักตอกย้ำอยู่เสมอว่า “ไม่มีสูตรสำเร็จหรือทางลัดใด ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้” Link Building หรือ Outreach หรือแม้แต่การหา Backlink คุณภาพจึงเป็นหนึ่งกระบวนการในการทำ SEO ที่ไม่ควรเพิกเฉยหรือถ้าจะพูดให้ถูก “ห้ามมองข้าม” โดยเด็ดขาดเพราะถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการทำ SEO ซึ่งบทความนี้จะอธิบายถึงความสำคัญ ขั้นตอนและกระบวนการทำงานของสิ่งนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
Table of Contents
Link Building คืออะไร
อันที่จริงแล้วเรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันของนักการตลาดที่ทำงานทางด้าน SEO อยู่ไม่น้อยด้วยการเรียกคำต่างๆ รวมถึงคำจำกัดความที่อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท แต่ความหมายของ Link Building ในบริบทที่แท้จริงคือวิธีการสร้าง Backlink โดยอาศัยกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้ลิงก์กลับเข้ามา
ในเว็บไซต์ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีกฎตายตัวว่าต้องทำแบบไหน ไม่ทำแบบไหน ยกตัวอย่างเช่น
- การเขียนบทความที่มีประโยชน์ลงเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อให้เกิดการค้นเจอและนำไปแชร์บนอินเทอร์เน็ต (อาจเป็นการใส่ลิงก์ของเราในท้ายบทความเพื่อให้เป็นแหล่งอ้างอิงในบทความนั้นๆ)
- การแชร์บทความที่มีประโยชน์บนโซเชียลมีเดีย
- สร้างลิงก์ที่เสียไปแล้วเช่น การหา Broken Link และติดต่อไปเสนอเขียนบทความให้ฟรีจากนั้นก็ลิงก์กลับมาที่หน้าเว็บไซต์ของเรา
- การทำ Outreach (Email, Influencer, PR, Social Media ฯลฯ)
Backlink คืออะไร
ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ ก็แปลตรงตัวเลยนั่นคือ “ลิงก์ที่กลับมาหาเรา” นั่นคือลิงก์ใดๆ ก็ตามที่เราได้กลับมาจากการทำลิงก์ใส่ไว้ในบทความที่ถูกนำส่งไปโพสต์บนเว็บไซต์อื่นๆ โดยอาจอาศัยการใช้ Anchor Text (คำที่มีการใส่ลิงก์ให้สามารถคลิกเข้าไปได้) ในการทำ แต่สิ่งที่ควรจะเป็นมากที่สุดคือหน้าเว็บไซต์กับบทความที่เราทำส่งออกไปนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันหรือเป็นเรื่องเดียวกันได้ยิ่งดี รวมถึงข้อมูลที่ใส่เข้าไปก็ต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านด้วยและต้องเป็นข้อมูลที่เราเขียนขึ้นใหม่ อ้างอิงจากที่อื่นได้แต่ห้ามคัดลอกมาโดยเด็ดขาดเพราะจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีในกระบวนการจัดลำดับของ SEO เพราะ Google จะมีการตรวจสอบลิงก์ต่างๆ ไปจนถึงบทความทุกๆ ชิ้นที่คุณทำออกไปด้วย Google Bot และมีการให้คะแนนคุณภาพของลิงก์นั้นๆ ด้วย
*โดยปกติการใส่ Backlink ในบทความนั้นจะเป็นการทำบทความด้วยตัวเราเอง เพื่อส่งออกไปโพสต์ตามเว็บอื่นๆ ซึ่งส่วนนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายตามชื่อเสียงของแต่ละเว็บไซต์ที่เรานำบทความไปลง มีโอกาสน้อยมากที่คนอื่นจะอ้างอิงโดยการหยิบเอาเว็บไซต์ของเราไปใส่เป็นลิงก์ในเว็บไซต์ของเขาด้วยตัวเอง นอกจากเราจะมีบทความที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขาต้องการสื่อสารจริงๆ ดังนั้นยิ่งบนหน้าเว็บหรือ Blog ของเรามีเนื้อหาที่ให้ประโยชน์และมีคุณภาพมากเท่าไร โอกาสที่จะเกิด Backlink แบบธรรมชาติก็มีเพิ่มขึ้น
Outreach คืออะไร
คือหนึ่งในเทคนิคสำหรับการทำ Link Building ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกันแล้วคำว่า Outreach กับ Backlink นั้นความหมายอาจแทบไม่ต่างกันเพราะวิธีการรวมถึงจุดประสงค์คือเรื่องเดียวกัน แต่รูปแบบหรือกระบวนการอาจต่างกันเล็กน้อย ตรงที่คำว่า “Outreach” บริษัทต่างๆ รวมถึงเอเจนซี่มักใช้เรียกเป็นขั้นตอนการติดต่อเพื่อที่จะส่งออกคอนเทนต์ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านทางอีเมล คอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย การใช้เหล่าคนดังไปจนถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่ม Backlink ให้กับเว็บไซต์ของเรา ซึ่งอย่างที่เรากล่าวไปชั่วครู่ว่าจะต้องเป็นบทความที่สร้างขึ้นเองและเนื้อหาก็ต้องมีคุณภาพชวนให้คนอ่านและให้ประโยชน์กับผู้อ่านจริงๆ เพราะหากคุณทำ Backlink บนบทความที่อาจจะมีหัวข้อน่าดึงดูดแต่เข้ามาอ่านแล้วเนื้อหากลับไม่เข้ากันกับหน้าเว็บไซต์ หรือไม่เนื้อหาก็ไม่ชวนอ่านเอาซะเลย Backlink นั้นที่คุณใส่ไปก็จะสูญเปล่าทันที
ต้องการหา Backlink คุณภาพต้องดูอะไรบ้าง
นอกจากบทความต้องเกี่ยวข้องกับหน้าเว็บไซต์ มีประโยชน์ต่อผู้อ่านแล้วยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่างที่คุณจำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า Backlink ที่คุณได้จะไม่เสียเปล่า การจะได้ Backlink ที่มีคุณภาพเราควรให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มีค่าการเข้า-ออก (ความ Flow) ของจำนวนลิงก์ ค่าความน่าเชื่อถือรวมถึงจำนวนนสแปมภายในเว็บไซต์ เพราะจะเป็นการช่วยสร้างความแข็งแรงบนเว็บไซต์ของคุณ ในส่วนนี้อาจจะต้องมีการขอข้อมูลเว็บไซต์ที่คุณจะนำบทความต่างๆ ไปลง (ในกรณีที่เสียค่าใช้จ่ายในการลงบทความกับเว็บไซต์มีเดียต่างๆ)
ส่วนการใช้ Anchor Text ก็ควรทำอย่างละมัดระวังเพราะปริมาณที่เหมาะสมในการใส่ลิงก์ของแต่ละบทความนั้นคือไม่ควรเกิน 1 ลิงก์ โดยการลิงก์ในคำค้นหาหลัก (Keyword) ชื่อแบรนด์ หรือชื่อเว็บไซต์ เป็นต้น
Backlink มีกี่รูปแบบ
เนื่องจาก Backlink คือการประกาศให้ Google รู้ว่าเว็บไซต์ของเราหน้าเชื่อถือจนได้รับการเชื่อมโยงจากสื่อภายนอกต่างๆ เข้ามาดังนั้นรูปแบบจึงมีหลากหลายตามไปด้วย
- Natural Editorial Links
การทำบทความที่มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน (Evergreen Content) ลงในเว็บไซต์ของเราจนคนอื่นนำเว็บไซต์ของคุณไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงและลิงก์กลับเข้ามาที่บทความนั้นๆ ส่วนนี้จะช่วยให้ Google จะให้คะแนนคุณภาพเว็บไซต์ของคุณสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเว็บไซต์สถาบันการศึกษา เว็บไซต์ข้อมูลอย่าง Wikipedia เว็บไซต์ราชการ เป็นต้น (แต่เนื้อหาบนหน้าที่พวกเขานำลิงก์คุณไปใส่ก็ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคุณด้วยเช่นกัน)
- Manual Link Building
วิธีการนี้สามารถทำได้หลากหลายแนวทางหนึ่งในช่องทางที่ดีที่สุดและลดความเสี่ยงต่อการโดนลิงก์ด้อยคุณภาพนั่นคือการสร้างเครือข่ายโซเชียลมีเดียของตัวเอง อาจจะทำเป็นวิดีโอลง Youtube ทำคอนเทนต์ Social Media เป็นประจำ ทำบทความลงบล็อก แต่ทั้งหมดนั้นจะต้องมีการใส่ลิงก์กลับเข้ามาบนหน้าเว็บไซต์ของคุณด้วย ถ้าเป็น Blog ก็ควรลิงก์ไปยังหน้าอื่นๆ ของเว็บไซต์เรา
- Non-Editorial
ถือเป็นสิ่งที่ Google ให้ความสำคัญน้อยหากคุณได้รับ Backlink จากเว็บไซต์ในกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากล่ะก็ ควรรีบตรวจสอบและระมัดระวังไว้เป็นอย่างดีเพราะแทนที่จะได้คะแนนจาก Google อาจถูกมองว่าเป็น Spam ก็ได้ เนื่องจากเมื่อก่อนจะมีกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า “สายดำ” คือใช้วิธีการสร้าง Comment ตามเว็บไซต์ต่างๆ และใส่ลิงก์ของเว็บไซต์ที่ต้องการให้โยงกลับมาเข้าไปเยอะๆ ทำให้เว็บไซต์นั้นได้ Backlink กลับมาอย่างมหาศาลในระยะเวลาอันสั้น ลำดับ SEO ก็เลยพุ่งทะยานสู่หน้าแรกอย่างรวดเร็ว แต่ท้ายที่สุดเมื่อ Google จับได้ก็จะโดนบทลงโทษไปตามละเบียบ ดังนั้นวิธีการนี้เราไม่แนะนำให้คุณเจริญรอยตาม
ทำ Link Building มีต้นทุนมั้ย
การเขียนบทความต่างๆ คุณอาจสามารถทำได้ด้วยตัวเองแต่สิ่งที่จะเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการทำ Link Building ก็คือ “ค่าฝากลงบทความ” ซึ่งอันที่จริงเรามีทางเลือกมากมายในการนำคอนเทนต์ที่ใส่ Backlink เอาไว้ไปลง เช่น Forum, Webboard, Social Media ต่างๆ
แต่ถึงกระนั้นข้อจำกัดของการใช้ Forum, Webboard ก็คือเจ้าของบอร์ดนั้นๆ มีสิทธิ์จะทำลายลิงก์ของคุณลบบทความคุณไปเลยได้ตลอดเวลาหรือทำลิงก์ของเราให้เป็น Nofollow เพื่อไม่ให้ Google เข้าไปติดตามลิงก์นั้นๆ ได้ ดังนั้นหลังจากทำแล้วคุณจึงอาจต้องเข้าไปตรวจสอบอยู่เสมอๆ ว่าบทความกับลิงก์ของคุณยังสมบูรณ์อยู่หรือไม่
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ธุรกิจปัจจุบันเริ่มเลือกพื้นที่ลงบทความเป็นเว็บไซต์มีเดียต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ขึ้นอยู่กับชื่อเสียง Traffic ของเว็บไซต์นั้นๆ ว่าได้รับความนิยมมากเพียงใด ยิ่งมากก็ยิ่งแพง ซึ่งราคาอาจมีตั้งแต่หลักพันต้นๆ ไปจนถึงหลักแสน ต่อหนึ่งบทความเลยก็ได้ แม้ว่าบทความที่เราทำไปนั้นจะไม่ใช่บทความโฆษณา (Advertorial Content) ก็ตาม แต่ก็อีกนั่นล่ะเพราะธุรกิจน้อยใหญ่ก็ยอมควักเงินจ่ายเนื่องจากผลตอบแทนที่จะได้กลับมาในวันที่เว็บไซต์ของพวกเขาติดอันดับหน้าแรกของ Google นั้นจะคุ้มค่าไม่น้อย
Join the discussion - 0 Comment