ตอบทุกข้อสงสัย Google Ads คืออะไร ที่คุณเข้าใจนั้นใช่แล้วหรือยัง?

หากอ่านเพียงหัวข้อผ่านๆ คุณอาจคิดว่า “มันจะไปยากอะไร Google Ads ก็คือ การทำโฆษณาบน Google ไงล่ะ” ใช่คุณคิดถูก แต่ถ้าเราจะมาเขียนบอกแค่นั้นคุณก็คงจะต้องสาปส่งเราอย่างแน่นอน ถ้าอย่างนั้นสิ่งที่บทความนี้จะมอบให้กับคุณคือทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าโฆษณาบน Google ที่ว่าเนี่ย เป็นอย่างไรมีรูปแบบไหนบ้าง แล้วในฐานะคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือรับผิดชอบแคมเปญโฆษณาให้กับลูกค้าเนี่ย ควรมีเกณฑ์อะไรในการพิจารณาว่า ธุรกิจ สินค้าหรือบริการนั้นๆ ของคุณเหมาะกับการทำ Google Ads หรือไม่

Google Ads คือ Google AdWords

หากคุณยังคงสับสนว่าที่มาที่ไปของ Google Ads คืออะไรล่ะก็ ขอตอบตรงนี้เลยว่าเดิมเลยมันมีชื่อว่า Google AdWords ซึ่งในการรีแบรนด์ครั้งนี้ Google ให้เหตุผลว่าเพื่อความเข้าใจง่ายและไม่สับสนโดย Google Ads จะให้คุณสามารถเลือกทำแคมเปญโฆษณาแบบต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

Sales
เพิ่มยอดขายออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นผ่านทางแอปพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ หรือ Online Shop

Leads
เพิ่มจำนวนลูกค้าและโอกาสทางการขายโดยการดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับโฆษณา

Website Traffic
เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ด้วยกลุ่มเป้าหมายที่ตรงจุด

Product And Brand Consideration
ช่วยให้ผู้คนเห็นสินค้าและแบรนด์ของคุณ ทำให้มีส่วนในการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

Brand Awareness And Reach
เพิ่มการมองเห็นและทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

App Promotion
เพิ่มโอกาสให้ผู้คนเห็นแอปฯ และดาวน์โหลดมาติดตั้งในสมาร์ทโฟนของตัวเองมากขึ้น (สำหรับคนทำแอปพลิเคชั่น)

*Create Campaign Without A Goal’s Guidance
สร้างแคมเปญด้วยการกำหนดเองทุกขั้นตอน ช่วยให้คุณสามารถทำโฆษณาได้อย่างอิสระและเหมาะสมกับแบรนด์ สินค้าหรือบริการของคุณอย่างมากที่สุด

 

 

ซึ่งรูปแบบบริการทำโฆษณาบน Google มีดังต่อไปนี้ (บางแคมเปญอาจมีรูปแบบโฆษณาที่จำกัด)

  1. Search (Google Search)
    Search Ads คือ บริการที่คนนิยมใช้กันลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้สำหรับการทำโฆษณาบน Google เป็นรูปแบบของการทำโฆษณาโดยใช้คีย์เวิร์ดเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะตามชื่อเลยว่า “โฆษณาค้นหา” ซึ่งแน่นอนว่าเวลาผู้คนค้นหาบน Google มักจะพิมพ์คีย์เวิร์ดหรือคำค้นหาลงไป แล้วเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นก็จะแสดงขึ้นมาให้ผู้ค้นหาเลือกเข้าชมโดยการแสดงผลของ Search Ads นี้โฆษณาจะขึ้นเป็นลิงก์ที่อยู่บนหน้าแรกของการค้นหาใน Google ลักษณะเดียวกันกับการทำ SEO (Seach Engine Optimiztion) แต่ความพิเศษของ Search Ads คือจะมีคำว่า Ad นำหน้าลิงก์และสามารถเลือกใส่ส่วนขยายของโฆษณาได้ ทำให้ลิงก์เว็บไซต์ของคุณขึ้นหน้าแรกได้ทันทีโดยไม่ต้องรอเวลาอย่างการทำ SEO ส่วนโฆษณาของใครจะขึ้นมาอยู่อันดับแรกนั้นขึ้นอยู่กับการประมูลคีย์เวิร์ดที่คุณเลือกใช้
  2. Display (Google Display Network)
    Google Display Ads คือโฆษณาที่แสดงผลในรูปแบบของแบนเนอร์รูปภาพและตัวหนังสือ (Text Ads) โดยการทำวิธีนี้ Google จะส่งแบนเนอร์ที่คุณกำหนดเอาไว้ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรและเป็นหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาแบรนด์ สินค้าหรือบริการของคุณ การทำโฆษณาแบบนี้ก็เป็นที่นิยมไม่น้อยเพราะสามารถทำภาพได้หลากหลายขนาดและมีโอกาสที่ผู้คนจะเห็นโฆษณาของตัวเองได้มากยิ่งขึ้นเพราะมีการกระจายโฆษณาไปยังเว็บไซต์อื่นๆ
  3. Shopping
    Google Shopping Ads คือโฆษณาที่ให้คุณสามารถใส่รูปภาพพร้อมรายละเอียดของสินค้าลงไปได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าพอมีคนค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของคุณ Google ก็จะแสดงภาพสินค้า รายละเอียดพร้อมราคาของสินค้าชิ้นนั้นๆ ในทันทีและหากผู้ค้นหาสนใจก็สามารถคลิกเข้าไปและทำการสั่งซื้อสินค้าบนหน้า Online Shop ของคุณได้เลยรูปแบบการแสดงผลจะคล้ายๆ กับ Marketplace เพราะผู้ค้นหาจะไม่ได้เห็นสินค้าจากเว็บไซต์เดียวแต่จะมีเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีสินค้าอาจจะเป็นแบบเดียวกัน หรือคล้ายกันพร้อมราคาไว้ให้เปรียบเทียบและทำการตัดสินใจเลือกซื้ออีกด้วย
  4. Video (YouTube)
    YouTube Ads คือโฆษณาในรูปแบบ Video ที่จะแสดงผลในขณะที่ผู้คนกำลังรับชมวิดีโอต่างๆ บน YouTube โดยจะขึ้นได้ทั้งตั้งแต่ต้นคลิปและระหว่างคลิป ซึ่งตรงส่วนนี้คนทำคลิปวิดีโอบน YouTube หรือที่เราเรียกกันว่า YouTuber ก็จะได้ส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาเหล่านี้ด้วยหากช่อง YouTube และวิดีโอที่พวกเขาทำเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ Google กำหนด
  5. App
    เป็นรูปแบบโฆษณาเฉพาะสำหรับแอปพลิเคชันโดยจะเป็นการนำเสนอแอปพลิเคชั่นที่มีการทำโฆษณาทั้งในรูปแบบของ GDN ไม่ว่าจะเป็นบน YouTube, Website ต่างๆ จนถึงบน Google Play Store ข้อดีของการทำโฆษณารูปแบบนี้คือผู้ใช้สามารถกดที่โฆษณานั้นและติดตั้งแอปฯ ได้ทันทีโดยไม่ต้องเข้าออก Play Store เพื่อค้นหาให้วุ่นวาย
  6. Smart (Re-Marketing)
    เป็นรูปแบบโฆษณาที่ให้คุณสามารถกำหนดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเองได้ ไม่ว่าจะเป็น โทรหาคุณ (Call To Your Business) เยี่ยมชมหน้าร้าน (Visit To Your Storefront) หรือให้มีแอคชั่นบนเว็บไซต์ของคุณ (Action On Your Website) ซึ่งโฆษณานี้จะโชว์ทั้งบนหน้าเว็บ Google จนถึง Google Map ตามแต่คุณจะกำหนด

 

โฆษณาบน Google

 

ธุรกิจไหนบ้างที่ควรใช้โฆษณาบน Google

ด้วยความที่ Google Ads คือบริการทำโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้นหา (Search Engine) อันดับหนึ่งของโลกและด้วยความที่ระบบต่างๆ ก็ถูกพัฒนาเรื่อยมาจนตอนนี้แทบจะไม่มีช่องว่างระหว่างธุรกิจเฉพาะทางกับ Google แล้ว 

แต่ถ้าจะให้ตอบแบบเจาะจงไปเลยว่าธุรกิจไหนบ้างที่ควรจะใช้  ก็ต้องตอบแบบมีนัยสำคัญว่าอย่างแรกต้องเป็นธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์อะไรบางอย่างจากโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้คนรู้จักตัวเองมากขึ้น (Brand Awareness) การเพิ่มโอกาสทางการขาย การติดต่อมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ฯลฯ

เหตุผลที่เราไม่บอกประเภทธุรกิจไปเลยไม่ใช่ว่าเรากั๊ก แต่ทุกธุรกิจบนโลกปัจจุบันสมควรทำโฆษณาผ่าน Google ด้วยกันทั้งสิ้นเพราะคุณสามารถพลิกแพลงให้เหมาะสมกับสิ่งที่คุณขายได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอสังหาฯ ธุรกิจโรงแรม ขายสินค้า บริการให้เช่า ฯลฯ ก็ควรใส่ Google Ads เอาไว้บนแผนการตลาดของคุณได้แล้ว

 

Google Adsense คืออะไร

 

Google AdSense คืออะไร?

เราพูดไปถึงฝั่งคนที่ทำโฆษณากันไปหมดแล้ว ทีนี้บางคนอาจสงสัยว่าแล้วคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่โฆษณาของ Google ไปแสดงล่ะจะได้อะไรคำตอบก็คือ “ได้เงิน” นั่นเอง Google AdSense คือช่องทางการสร้างรายได้ให้กับผู้ที่มีเว็บไซต์ด้วยการอนุญาติให้ Google แสดงเนื้อหาโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ตามตำแหน่งต่างๆ แต่เว็บไซต์นั้นก็ต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ตามที่ Google กำหนดด้วย โดยคุณไม่ต้องห่วงไปว่าโฆษณาของ Google ที่จะมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์ของคุณจะไม่เข้าธีม เพราะระบบจะคัดสรรโฆษณาที่เข้ากับเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นแสดงให้มากที่สุด

ดังนั้นหากคุณมีเว็บไซต์ของตัวเองแล้วอยากมีรายได้เล็กๆ น้อยๆ เป็นค่าขนม (บางคนก็ไม่น้อยนะจริงๆ แล้ว) ก็อย่าลืมทำให้เว็บไซต์เข้าเกณฑ์ที่ Google กำหนดและทำการสมัคร Google AdSense ไว้ได้เลย!

สำหรับนักการตลาดหรือคนที่อาจจะกำลังต้องมารับผิดชอบแคมเปญโฆษณาต่างๆ ให้กับลูกค้าล่ะก็ อย่างที่เราย้ำอยู่เสมอถึงเรื่องการทำการตลาดแบบผสมผสาน ความหมายคือจริงอยู่ที่ Google Ads คือเครื่องมือโฆษณาทรงประสิทธิภาพสูงสุดอันหนึ่งในโลก ณ ตอนนี้ แต่เราก็ไม่แนะนำหากคุณจะมองข้ามช่องทางการตลาดออนไลน์อื่นๆ อย่างเช่นโซเชียลมีเดีย เพราะถ้าเป็นไปได้เราขอแนะนำให้คุณทำทุกๆ ช่องทางควบคู่กันไป

หรือถ้าคุณเป็นแบรนด์ ธุรกิจ ที่กำลังมองหาผู้ช่วยในการจัดการเรื่องของโฆษณาออนไลน์ล่ะก็ “เอเจนซี่” ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เราแนะนำ โดยเฉพาะกับเอเจนซี่ที่เป็น Premiere Partner กับทาง Google พวกเขาจะมีทั้งประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เทคนิคและเครื่องมือที่ครบครัน